messager
 
องค์การบริหารส่วนตำบลช้างเผือก call ข้อมูลการติดต่อ (O4)

องค์การบริหารส่วนตำบล
ช้างเผือก
อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด

ยินดีต้อนรับ เข้าสู่เว็บไซต์ องค์การบริหารส่วนตำบลช้างเผือก อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด
insert_drive_file ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลพื้นฐาน
สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน 1. ด้านกายภาพ 1.1 ที่ตั้งของหมู่บ้านหรือชุมชนหรือตำบล ตำบลช้างเผือกแยกมาจากตำบลหัวช้างเมื่อปี พ.ศ. 2524 เพื่อให้การปกครองเกิดผลดีมีประสิทธิภาพ เหตุที่ตั้งชื่อว่าช้างเผือกเพราะมีคนเล่าว่า นานมาแล้วมีช้างเผือกอยู่เชือกหนึ่งได้พลัดหลงมาตายที่ป่าดงหลิง ซึ่งอยู่ตำบลช้างเผือกในปัจจุบันจึงเรียกว่าตำบลช้างเผือกตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบัน องค์การบริหารส่วนตำบลช้างเผือก มีพื้นที่ 52.34 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 32,712.50 ไร่ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของอำเภอสุวรรณภูมิ ห่างจากตัวอำเภอประมาณ 18 กิโลเมตร และห่างจากจังหวัดร้อยเอ็ดประมาณ 71 กิโลเมตร ตำบลช้างเผือก แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 11 หมู่บ้าน ประกอบด้วย ประกอบด้วยบ้านเปลือย หมู่ที่ 1 , บ้านแดง หมู่ที่ 2 , บ้านช้างเผือก หมู่ที่ 3 , บ้านขี้กา หมู่ที่ 4 , บ้านหนองบั่ว หมู่ที่ 5 , บ้านค้อ หมู่ที่ 6 , บ้านคำพรินทร์ หมู่ที่ 7 , บ้านโนนสว่าง หมู่ที่ 8 , บ้านไทยเจริญ หมู่ที่ 9 , บ้านโนนม่วง หมู่ที่ 10 และบ้านหัวฝาย หมู่ที่ 11 มีเขตติดต่อกับพื้นที่ใกล้เคียงดังนี้ ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลหนองหมื่นถ่าน อำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลจำปาขันธ์ อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลหนองทัพไทย อำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลหัวช้างและตำบลห้วยหินลาด อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด องค์การบริหารส่วนตำบลช้างเผือกมีประชากรจำนวนรวมทั้งสิ้น 6,791 คน แยกเป็น ชาย 3,350 คน หญิง 3,441 คน (ที่มา สำนักทะเบียนราษฎร์ อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2564) ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม

check_circle ประวัติความเป็นมา
ประวัติความเป็นมา
องค์การบริหารส่วนตำบลช้างเผือกเป็นเขตการปกครองของสุวรรณภุมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ห่างจากร้อยเอ็ดประมาณ 71 กิโลเมตร สภาพพื้นที่ทั่วไปขององค์การบริหารส่วนตำบลช้างเผือก องค์การบริหารส่วนตำบลช้างเผือก มีพื้นที่โดยประมาณ 52.34 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 32,71250 ไร่ โดยทั่วไปเป็นพื้นที่ราบสูง ลักษณะดินเป็นดินร่วนปนทราย พื้นที่ส่วนมากเป็นพื้นที่ราบใช้เป็นที่ตั้งชุมชนและพิ้นที่เกษตรกรรมโดยมีหนองน้ำใหญ่และคลองส่งน้ำในตำบลเพื่อใช้ในการเกษตร เขตพื้นที่ ทิศเหนือ ติดเขต องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยหินลาด อำเภอสุวรรณภูมิ และองค์การบริหารส่วนตำบลหนองทัพไทย อำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด ทิศใต้ ติดเขต องค์การบริการส่วนตำบลหัวช้าง อำเถอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ทิศตะวันออก ติดเขต องค์การบริหารส่วนตำบลหนองทัพไทย อำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด ทิศตะวันตก ติดเขต องค์การบริหารส่วนตำบลหัวช้าง องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยหินลาด อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด อาชีพ อาชีพหลัก ทำนา อาชีพเสริม ปลูกยางพารา มันสำปะหลัง ทำการประมง หัตถกรรม สาธารณูปโภค มีไฟฟ้า ประปา ครบทุกหมู่บ้าน องค์การบริหารส่วนตำบลช้างเผือกเป็นเขตการปกครองของสุวรรณภุมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ห่างจากร้อยเอ็ดประมาณ 71 กิโลเมตร สภาพพื้นที่ทั่วไปขององค์การบริหารส่วนตำบลช้างเผือก มีพื้นที่โดยประมาณ 52.34 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 32,71250 ไร่ จำนวนหมู่บ้าน 11 หมู่ โดยทั่วไปเป็นพื้นที่ราบสูง ลักษณะดินเป็นดินร่วนปนทราย พื้นที่ส่วนมากเป็นพื้นที่ราบใช้เป็นที่ตั้งชุมชนและพิ้นที่เกษตรกรรมโดยมีหนองน้ำใหญ่และคลองส่งน้ำในตำบลเพื่อใช้ในการเกษตร เขตพื้นที่ ทิศเหนือ ติดเขต องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยหินลาด อำเภอสุวรรณภูมิ และองค์การบริหารส่วนตำบลหนองทัพไทย อำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด ทิศใต้ ติดเขต องค์การบริการส่วนตำบลหัวช้าง อำเถอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ทิศตะวันออก ติดเขต องค์การบริหารส่วนตำบลหนองทัพไทย อำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด ทิศตะวันตก ติดเขต องค์การบริหารส่วนตำบลหัวช้าง องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยหินลาด อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด อาชีพ อาชีพหลัก ทำนา อาชีพเสริม ปลูกยางพารา มันสำปะหลัง ทำการประมง หัตถกรรม สาธารณูปโภค มีไฟฟ้า ประปา ครบทุกหมู่บ้าน

check_circle วิสัยทัศน์
วิสัยทัศน์
"โครงสร้างพื้นฐานดี มีการศึกษาก้าวหน้า เสริมสร้างสุขภาพอนามัยที่ดี มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ดำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรม"

check_circle คำขวัญตำบลช้างเผือก
คำขวัญ
คำขวัญตำบลช้างเผือก ช้างเผือกคู่บ้าน พุทธบาลมุณีคู่เมือง งามรุ่งเรืองโบสถ์หินเก่า ตำนานเล่าหนองท่าจอก บ่งบอกแหล่งสมบูรณ์ งามอดุลย์พระธาตุอรหันต์ เที่ยวสุขสันต์ป่าดงทำเล มนต์เสน่ห์ตำบลช้างเผือก

check_circle ยุทธศาตร์ อบต.ช้างเผือก
ยุทธศาสตร์องค์กรปกครองท้องถิ่น
1)วิสัยทัศน์การพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลช้างเผือก โครงสร้างพื้นฐานดี มีการศึกษาก้าวหน้า เสริมสร้างสุขภาพอนามัยที่ดี มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ดำรงไว้ซึ่งวัฒน 2)ยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนา 1. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้น 1.1 แนวทาง ก่อสร้างถนน คสล. 1.2 แนวทาง ถนนลาดยาง 1.3 แนวทาง ถนนลูกรัง 1.4 แนวทาง ก่อสร้างถนนดิน 1.5 แนวทาง ก่อสร้างสะพาน 1.6 แนวทาง ก่อสร้างราง,ร่อง,ท่อระบายน้ำ 1.7 แนวทาง ก่อสร้าง/ซ่อมแซม/ขยายท่อเมนประปา 1.8 แนวทาง ขยายเขตไฟฟ้าและไฟฟ้าแสงสว่างในหมู่บ้าน 1.9 แนวทาง ขยาย/ปรับปรุงไหล่ทางถนน ทางแยกทางร่วมถนน 1.10 แนวทาง ก่อสร้าง/ซ่อมแซม/ปรับปรุงหอกระจายข่าวภายในหมู่บ้าน 2. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านสาธารณสุขและคุณภาพชีวิต 2.1 แนวทาง ป้องกันโรคไข้เลือดออก โรคระบาด และโรคติดต่อ 2.2 แนวทาง พัฒนาส่งเสริมเด็กแรกเกิด/ผู้สูงอายุ/ผู้ด้อยโอกาส 2.3 แนวทาง รักษาความสะอาดของชุมชน 2.4 แนวทาง พัฒนาคุณภาพชีวิต 2.5 แนวทาง พัฒนาส่งเสริมด้านการออกกำลังกาย 2.6 แนวทาง ป้องกันช่วยเหลือภัยด้านยาเสพติด 3.ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการจัดระเบียบชุมชน/สังคมและการรักษาความสงบเรียบร้อย 3.1 แนวทาง ส่งเสริมและสนับสนุนความร่วมมือและการมีส่วนร่วมของประชาชน ผู้นำท้องถิ่นและผู้นำท้องที่ 3.2 แนวทาง การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 3.3 แนวทาง การรักษาความสงบเรียบร้อยในชุมชน 3.4 แนวทาง การสร้างความเข้มแข็งของชุมชน 3.5 แนวทาง พัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการองค์กร 4.ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการวางแผนส่งเสริมการลงทุน พาณิชยกรรม และการท่องเที่ยว 4.1 แนวทาง ส่งเสริม/พัฒนาอาชีพ เพิ่มรายได้ ฝึกอบรมให้ความรู้ สร้างความเข้มแข็งกลุ่มอาชีพ 4.2 แนวทาง จัดตั้งศูนย์(OTOP) ประจำตำบล ขยายตลาดชุมชน 4.3 แนวทาง พัฒนาด้านการท่องเที่ยว 4.4 แนวทาง ส่งเสริมพัฒนาพืชพันธุ์และผลผลิตทางการเกษตร 5.ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการบริหารจัดการและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 5.1 แนวทาง พัฒนาด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ 5.2 แนวทาง ขุดลอกแหล่งน้ำสาธารณะ และเจาะน้ำบาดาลเพื่อการเกษตร 5.3 แนวทาง ปลูกต้นไม้ในป่าเสื่อมโทรมและที่สาธารณะ 5.4 แนวทาง ปรับปรุงสวนสาธารณะประจำตำบล 5.5 แนวทาง ขยายเพาะพันธุ์ปลาในหนองน้ำสาธารณะทุกหมู่บ้านในตำบล 6. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการศึกษาศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น 6.1 แนวทาง พัฒนาด้านการศึกษา 6.2 แนวทาง ส่งเสริมสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น 6.3 แนวทาง ส่งเสริมสืบทอดองค์ความรู้ศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น สู่ศูนย์กลางการศึกษาวัฒนธรรมในกลุ่มประชาคมอาเซียน 6.4 แนวทาง พัฒนาคนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน 6.5 พัฒนาด้านการกีฬาและนันทนาการ

info ภาษีบำรุงท้องที่
ภาษีบำรุงท้องที่
ที่ดิน หมายถึง พื้นที่ดินรวมถึงภูเขาและแหล่งน้ำด้วย เจ้าของที่ดินหมายถึง บุคคลหรือคณะบุคคลซึ่งมีกรรมสิทธ์ในที่ดิน๖ (สำรวจใหม่) ผู้มีหน้าที่เสียภาษียื่นแบบรายการที่ดิน (ภ.บ.ท.) ภายในเดือนมกราคม (สำรวจใหม่ทุกระยะ 4 ปี) เสียภาษีภายในเดือนมกราคม-เมษายนของทุกปี หรือภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งประเมินคำนวณราคาปานกลางของที่ดินที่คณะกรรมการตีราคาปานกลางที่ดินกำหนดขึ้นเพื่อใช้ในการจัดเก็บภาษี x กับอัตราภาษีเนื้อที่ดินเพื่อคำนวณภาษี (ไร่=เนื้อที่ครอบครอง-เนื้อที่ลดหย่อน

บทกำหนดโทษ
- โทษทางแพ่ง * ไม่ยื่นแบบแสดงรายการภายในเวลากำหนดเสียเงินเพิ่มร้อยละ 10 ของภาษี * ยื่นแบบแสดงรายการไม่ถูกต้องเสียเงินเพิ่มร้อยละ 5 ของภาษี * แจ้งจำนวนเนื้อที่ไม่ถูกต้องให้เสียเงินเพิ่ม 1 เท่าของภาษี * ไม่ชำระภาษีในกำหนดเสียเงินเพิ่มร้อยละ 24 ต่อปี - โทษทางอาญา * พยายามหลีกเลี่ยงการเสียภาษีบำรุงท้องที่โทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือนหรือปรับไม่เกิน 2,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ * ไม่ยอมชี้เขตหรือไม่ยอมแจ้งจำนวนเนื้อที่ดินโทษจำคุก 1 เดือนหรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ * ขัดขวางเจ้าพนักงานโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือนหรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท * ผู้ใดฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าหน้าที่โทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือนหรือปรับไม่เกิน 1,000 หรือทั้งจำทั้งปรับ

info ภาษีโรงเรือนและที่ดิน
ภาษีโรงเรือนและที่ดิน
หมายถึง ภาษีจัดเก็บจากโรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นกับที่ดิน ซึ่งใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างนั้น โรงเรือน หมายถึง บ้าน ตึกแถว อาคาร ร้านค้า สำนักงานบริษัท ธนาคาร โรงแรม โรงภาพยนต์ โรงพยาบาล โรงเรียน แฟลต สนามมวย สนามม้า คลังสินค้า หอพัก ผู้มีหน้าที่เสียภาษีโรงเรือน และที่ดินคือเจ้าของทรัพย์สิน ค่าภาษีผู้เสียภาษีชำระภาษีปีละครั้งตามค่ารายปีของทรัพย์สินในอัตราร้อยละ 12.5 ต่อปี

ขั้นตอนการเสียภาษี
1.เจ้าของทรัพย์สินยื่นแบบแจ้งรายการทรัพย์สิน (แบบ ภ.ร.ด.2) ภายในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี 2.เจ้าหน้าที่จะทำการประเมินค่าภาษี 3. เสียภาษีภายใน 30 วัน นับถัดจากวันที่ได้รับแจ้งการประเมินหรือยื่นแบบ (ภายในเดือนมีนาคมของทุกปี) 4. หากไม่เสียภาษีภายในกำหนดต้องเสียเงินเพิ่มดังนี้ "- เสียภาษีไม่เกิน 1 เดือนเสียเงินเพิ่มร้อยละ 2.5 ของค่าภาษีค้าง "- เสียาษีไม่เกิน 1 เดือนแต่ไม่เกิน 2 เดือนเสียเงินเพิ่มร้อยละ 5 ของค่าภาษีค้าง "- เสียภาษีไม่เกิน 2 เดือนแต่ไม่เกิน 3 เดือนเสียเงินเพิ่มร้อยละ 7.5 ของค่าภาษีค้าง "- เสียภาษีไม่เกิน 2 เดือนแต่ไม่เกิน 3 เดือนเสียเงินเพิ่มร้อยละ 10 ของค่าภาษีค้าง

บทลงโทษ
ไม่ยื่นแบบ (ภ.ร.ด.2) ภายในกำหนดปรับ 200 บาท (มาตรา 46) แจ้งข้อความเท็จโดยเจตนาที่จะหลีกเลี่ยงภาษี ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือนปรับไม่เกิน 500 ความหมายแสดงชื่อยี่ห้อหรือเครื่องหมาย

info ภาษีป้าย
ขั้นตอนการเสียภาษี
1. เจ้าของทรัพย์สินยื่นแบบแจ้งรายการทรัพย์สิน (ภ.ร.ด.2) ภายในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี 2. เจ้าหน้าที่จะทำการประเมินค่าภาษี 3. เสียภาษีภายใน 30 วันนับจากวันที่ได้รับแจ้ง ( ภายในเดือนมีนาคมของทุกปี ) 4. หากไม่เสียภาษีในกำหนดต้องเสียภาษีเงินเพิ่มดังนี้ "- เสียภาษีไม่เกิน 1 เดือนเสียเงินเพิ่มร้อยละ 2.5 ของค่าภาษีค้าง "- เสียภาษีไม่เกิน 1 เดือนแต่ไม่เกิน 2 เดือนเสียเงินเพิ่มร้อลละ 5 ของค่าภาษีค้าง "- เสียภาษีไม่เกิน 2 เดือนแต่ไม่เกิน 3 เดือนเสียเงินเพิ่มร้อลละ 7.5 ของค่าภาษีค้าง "- เสียภาษีไม่เกิน 2 เดือนแต่ไม่เกิน 3 เดือนเสียเงินเพิ่มร้อลละ 10 ของค่าภาษีค้าง

บทกำหนดโทษ
ไม่ยื่นแบบ (ภ.ร.ด.2) ภายในกำหนดปรับ 200 บาท (มาตรา 46) แจ้งข้อความเท็จโดยเจตนาที่จะหลีกเลี่ยงภาษีต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 500 ความหมายป้ายแสดงชื่อยี่ห้อหรือเครื่องหมายในการประกอบการค้าเพื่อหารายได้ไม่ว่าจะแสดงหรือโฆษณาไว้ที่วัตถุใดๆ ด้วยอักษรภาพเครื่องหมาย

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้าย
1. เจ้าของป้าย 2. ผู้ครอบครองป้ายหรือเจ้าของป้ายหรือเจ้าของที่ดินที่ป้ายนั้นติดตั้ง การคำนวณพื้นที่ป้ายอัตราค่าป้าย ป้ายที่มีขอบเขตคำนวณดังนี้ ส่วนกว้างที่สุด x ส่วนยาวที่สุดของป้ายนั้นป้ายที่ไม่มีขอบเขตคำนวณดังนี้ให้ถือตัวอักษรภาพที่อยู่ริมสุดเป็นขอบเขตเพื่อกำหนดส่วนกว้างที่สุดยาวที่สุด อัตราภาษีป้าย แบ่งเป็น 3 อัตรา ลักษณะ ราคา(บาท) 1. อักษรไทยล้วน 30 บาท/500 ตร.ซม. 2.อักษรไทยปนอักษรต่างประเทศ/ภาพ/เครื่องหมาย 20 บาท/500 ตร.ซม. 3. ป้ายที่ไม่มีอักษรไทยหรืออักษรไทย อยู่ใต้หรือต่ำกว่าอักษรต่างประเทศ 40 บาท/500 ตร.ซม. *** ป้ายใดที่เสียต่ำกว่า 200 บาทให้เสีย 200 บาท ***

ขั้นตอนการเสียภาษี
1. ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย (ภป.1) พร้อมหลักฐานภายในเดือนมีนาคมของทุกปี 2. พนักงานเจ้าหน้าที่ประเมินค่าภาษีป้าย 3. เสียภาษีป้ายภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง 4. ไม่เสียภาษีภายในกำหนดเสียเงินเพิ่มร้อยละ 2 ต่อเดือนของค่าภาษีป้าย

บทกำหนดโทษ
ไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย (ภป.1) ปรับตั้งแต่ 5,000-10,000บาท (มาตรา 35) แจ้งข้อความเท็จเพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษีต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปีหรือปรับตั้งแต่ 5,000-50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

image แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว อบต.ช้างเผือก
สิมวัดพุทธสีมา (วัดบ้านเปลือย)[14 มีนาคม 2561]
พระธาตุอรหันต์ บ้านหนองบั่ว[14 มีนาคม 2561]
สวนสุภาพองค์การบริหารส่วนตำบลช้างเผือก[14 มีนาคม 2561]
ป่าชุมชนดงทำเล-ดอนใหญ่[14 มีนาคม 2561]
 

× องค์การบริหารส่วนตำบลช้างเผือก